บทความสุขภาพ

บทความสุขภาพ

โดย ศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข

บทความที่ 5 ถึงทุกท่านที่กินอาหารอย่างไม่ระมัดระวัง

ไม่ได้ตรวจร่างกายหลายปี หน้ามันบวม เลยไปตรวจ ร่างกายใหญ่ พบว่าน้ำหนักเกิน (82 กก.)

  • ไตเสื่อมเริ่มต้น ดอกเล็บถึงเกือบกลาง
  • มวลกระดูกหาย (เริ่มเสื่อม)
  • ไขมันเกาะตับ
  • ไขมันเกิน
  • ยูริคเกิน
  • ความดันสูง
นัดกันมาครบ ตกใจมาก เรื่องไต หมอบอกให้ลดเค็ม คือ งง! ก็ไม่ได้กินเค็ม ไม่เคยเพิ่มน้ำปลา เล่นบอลก็ทุกอาทิดย์ ทำไมน้ำหนักไม่ลด?

อาการทุกอย่างมาจากโรคไต

หาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต กลับมาคิดทบทวน ที่มีปัญหา เพราะพฤติกรรมการกินอย่างเดียว คือ ชอบกินน้ำซุป ทุกอย่าง น้ำแกง น้ำก๋วยเตี๋ยว น้ำผัด น้ำจิ้ม ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ และแสบที่สุดขนมปัง คือ เราลืมกันไปเอง เกลือ มันก็คือ รูปแบบนึงของโซเดียม น้ำฯที่ว่ามานั้น มีโซเดียมล้วนๆ ยิ่งขนมปัง ไม่เคยรู้เลย ผงฟูแม่ม ก็คือโซเดียมดีๆนี่เอง

ปกติร่างกายต้องการโซเดียม 200 กว่า มก.ต่อวัน องค์การอนามัยโลกก็ให้ไม่เกิน 2,400 มก. สิบเท่า คนไทยกินเฉลี่ย 7,000 มก. กระเพราไก่ จานเดียวก็ 2,000 ก๋วยเตี๋ยว 2,000 กว่า น้ำซุป พอกัน เราน่าจะกินเกินหมื่นต่อวัน

พอคิดได้ เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

  • 1. ข้าวแกง เอาแบบแห้งๆ
  • 2. ก๋วยเตี๋ยว สั่งน้ำ กินแต่เส้น
  • 3. MK ไดโดมอน จิ้มน้ำจิ้มเล็กน้อย
  • 4. กินขนมปังน้อยๆ เลิกกินซอสพริก ซอสมะเขือเทศ
  • 5. เริ่มอ่านฉลาก ปริมาณน้ำตาล โซเดียมข้างกล่อง
ผลที่ได้ใน 6 เดือน
  • 1. ดอกเล็บหาย
  • 2. ความดันปกติ จาก 148 เหลือ 120
  • 3. น้ำหนักลด จาก 82 เหลือ 74 โดยไม่ได้ทำอะไรเลย กลับมาคิดต่อว่าทำไม

ในอาหารทุกอย่าง น้ำตาล น้ำมัน และเกลือ จะรวมกันอยู่ในน้ำฯ เป็นสารละลาย พอเรากินแห้งๆ มันเลยติดเข้าร่างกายเราน้อย ไม่น่าเกิน 10-20% เลย ลดน้ำมัน น้ำตาล ได้ ต่ออีกนิดครับ ด้วยความที่เคยอยู่สวนผักเก่า เลยรู้ว่า โดนฉีดยาทุกอย่าง เวลาล้างผักผลไม้ เลยล้างอย่างดี กลายเป็นหนีเสือปะจระเข้ เพราะไม่เคยคิดมาก่อน ว่าที่เอามาล้างมัน คือ เกลือชนิดหนึ่ง ไตเสื่อมแล้วเสื่อมเลยครับ เพื่อนๆร่วมอุดมการณ์อิ่มอร่อยทั้งหลาย สุขภาพมันขึ้นอยู่ที่พฤติกรรมการกินนะครับ ระวังไว้บ้างก็ดี!

ปริมาณน้ำตาลในผลไม้ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์

  • กล้วยตาก. 64.1%
  • ทุเรียน. 34.7%
  • กล้วยไข่ 34.1%
  • กล้วยหอม. 31.4%
  • กล้วยหักมุก. 26.3%
  • กล้วยน้ำว้า. 26.1%
  • ขนุน. 23.7%
  • ละมุด. 21.9%
  • น้อยหน่า. 20.0%
  • มะม่วงอกร่อง 17.7%
  • เงาะ. 16.5%
  • ลิ้นจี่. 16.3%
  • มะม่วงสุก. 15.9%
  • ลำไย. 15.6%
  • แอปเปิ้ล. 15.2%
  • มะม่วงดิบ. 15.0%
  • มะปราง. 15.0%
  • มังคุด. 14.7%
  • ลางสาด. 14.0%
  • พุทรา. 14.0%
  • กระท้อน. 13.9%
  • องุ่น. 12.8%
  • ระกำ. 12.1%
  • มะละกอสุก. 11.8%
  • สับปะรด. 11.6%
  • ฝรั่ง. 11.6%
  • ส้มเกลี้ยง. 11.2%
  • ส้มเขียวหวาน. 11.2%
  • ส้มโอ. 9.5%
  • ส้มจุก. 9.2%
  • ชมพู่สาแหรก. 7.6%
  • สตรอเบอรี่. 7.6%
  • ชมพู่นาค. 7.3%
  • แตงโม. 4.9%
***ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยง ผักและผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลเกินกว่า 20%

  • ย้อนกลับหัวข้อบทความทั้งหมด
  • Qualites Enzyme

    Qualites Enzyme

    ติดต่อสอบถาม

  • รายละเอียดผลิตภัณฑ์
  • โปรโมชั่น/สั่งซื้อ
  • Line : @qualites_enzyme
  • Facebook : QualitesEnzyme
  • Tel : 02-542-0975-6